บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

การเห็นในศาสนาพุทธ

ผมได้นำเสนอและหลักฐานว่า การเห็น” สำคัญมากในการหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตตามปกติของมนุษย์ทั่วๆ ไป  รวมถึงความก้าวหน้าในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องอาศัย การเห็น

วันนี้จะมานำเสนอ การเห็น” ในศาสนาพุทธเถรวาทของเรา

ในทางศาสนาพุทธนั้น มีศัพท์ภาษาบาลีที่แปลว่า “เห็น” อันเป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของพุทธศาสนิกชนอยู่เป็นจำนวนมาก

ในบทความนี้ จะขอยกตัวอย่างเพียง 3 คำ คือ คือ ญาณทัสสนะ, ตรัสรู้ และวิปัสสนา 

วิปัสสนา
ได้กล่าวไปแล้วหลายครั้งว่า “วิปัสสนา” แปลว่า “เห็นแจ้ง”  “วิ” แปลว่า “แจ้ง” ส่วน “ปัสสนา” แปลว่า “เห็น” 

ญาณทัสสนะ
คำว่า ญาณ แปลว่า "รู้"  ทัสสนะ แปลว่า "เห็น"

พระพุทธเจ้านั้น พระองค์ท่านทรงเห็นก่อนแล้วจึงรู้  แต่การเห็นหัวข้อธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้งนั้น พระองค์เห็นด้วยตาของกายธรรม  ไม่ใช้เห็นด้วยตาของกายเนื้อของพระองค์

ตรัสรู้
คำว่า ตรัส นั้น  ส่วนใหญ่ เราคิดว่าแปลว่า "พูด"  ซึ่งก็ถูก ถ้าในกรณีที่คำว่า "ตรัส" เป็นคำกริยา (verb)  แต่คำว่าตรัสนั้น เป็นคำวิเศษณ์ (adverb) ก็ได้ อย่างเช่นในคำว่า ตรัสรู้

ตรัสที่เป็นคำวิเศษณ์ (adverb) แปลว่า แจ้ง สว่าง ชัดเจน  ดังนั้น คำว่า ตรัสรู้จึงไม่ได้แปลว่า "พูดว่ารู้"  แต่แปลว่า “รู้แจ้ง

การที่จะรู้แจ้ง/ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ก็มีพื้นฐานมาจาก เห็นแจ้ง/วิปัสสนา ที่สายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปคิดว่าตนเองรู้แล้ว  แต่ในความจริงไม่รู้เลย

ถ้าเป็นภาษาของ KM (knowledge management) ก็เป็นพวกกลุ่มที่ต้องพัฒนากันหนักเลย เพราะ เป็นพวกที่ "ไม่รู้ว่าตนเองไม่รู้"  กลับหลงผิดคิดไปว่า "ข้ารู้แล้ว คนอื่นไม่รู้" พัฒนายากนะครับ คนกลุ่มนี้

จะเห็นได้ว่า การที่จะบรรลุพระอรหันต์ต้องอาศัย " การเห็น” " ทั้งจากตาของกายเนื้อและตาของกายภายใน จึงจะทำให้ "รู้แจ้ง/ตรัสรู้" ได้

สายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปตัดการเห็นออกไปเสียสิ้น  เอาแต่หลับตาบ้าง ลืมตาบ้าง "คิด" อย่างเดียว  โดยอ้างว่า เป็นการ "พิจารณา" พระไตรลักษณ์ให้เห็นว่า ขันธ์ 5 เป็นอนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา และนำเข้าคำว่า "เข้าใจ" มาแทนคำว่า รู้/เห็น

ในฐานะที่เป็นนักภาษาศาสตร์ ผมขอยืนยันว่า คำว่า "เข้าใจ" ไม่มีในพระไตรปิฎกครับ  น่าจะมาจากคำว่า "understand" ของภาษาอังกฤษ

อนัตตลักขณสูตร พระสูตรที่ยืนยัน การเห็น

ในฐานะที่ศึกษาอนัตตลักขณสูตรมามาก ผมก็ขอยืนยันอีกว่า อนัตตลักขณสูตรก็ยืนยันการเห็น ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1

ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์
[21] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

ตรงนี้มีคำ 2 คำที่เน้นก็คือ ตรัสถามความเห็น และควรหรือจะตามเห็น

คำว่า "ความเห็น" นี้ น่าจะมาจาก การเห็น” (seeing) ด้วยตา ซึ่งต้องเป็นตาภายในด้วย  และคำว่า ควรหรือจะตามเห็น  นี่ก็คือยืนยันชัดเจนว่า อนัตตลักขณสูตรนั้น ยืนยันเรื่อง การเห็น

นอกจากนั้นแล้ว  ข้อความช่วงที่ผมยกมานี้ เป็นการพิจารณา "รูป" นะครับ  "รูป" ทั้งพุทธวิชาการและพุทธปฏิบัติธรรมเห็นตรงกันว่า เป็นวัตถุหรือเป็นสสาร

คุณจะพิจารณาวัตถุหรือสสารไม่ใช้ตาหรือครับ  จะใช้วิธีคิดเอาเองหรือนึกเอาเองหรือครับ

ตัวอย่างที่ 2

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ
[22] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมด ก็เป็นแต่สักว่ารูป  เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

ข้อความส่วนนี้ คำว่า "ยถาภูตญาณทัสสนะ" ก็แปลว่า "รู้เห็นตามความเป็นจริง" และข้อความส่วนนี้ ขอให้พิจารณาดูให้ดีนะครับ  ว่ามีคำใดบ้าง

- รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
- รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นภายในหรือภายนอก
- รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่หยาบหรือละเอียด
- รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เลวหรือประณีต
- รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไกลหรือใกล้

รูปต่างๆ เหล่านี้ ต้องใช้ทั้งตาเนื้อและตาภายในครับ ถึงจะพิจารณาได้ครบถ้วน สายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูป ไม่ใช้ตา เอาแต่ยืน-เดิน-นั่ง-นอน คิดอย่างเดียว  แล้วมันจะบรรลุธรรมได้อย่างไรครับ ต่อให้เดินได้ระยะทางเท่ากับเส้นรอบวงของโลก 1,000 เที่ยว ก็ไม่สามารถที่จะบรรลุพระอรหันต์ได้

ตัวอย่างที่ 3

[23] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว
อริยสาวกนั้นทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ข้อความส่วนนี้ ยิ่งชัดใหญ่ครับ "อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้"  แสดงว่า ในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนอยู่นั้น  ปัจจวัคคีย์ก็ต้องปฏิบัติตามไปด้วย  จึงฟังไปเห็นไป  แล้วจึงบรรลุพระอรหันต์

สายยุบหนอพองหนอกับสายนาม-รูปไม่ยอมเห็นสิ่งใด แล้วจะพิจารณาขันธ์ 5 ว่าเป็นอนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตาได้อย่างไรครับ

โดยสรุป

การเห็น” เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการหาความรู้ คำว่า ญาณทัสสนะ, ตรัสรู้ และวิปัสสนา ทั้ง 3 คำนี้ ก็แปลว่า “เห็น”  ในอนัตตลักขณสูตร ก็มีเนื้อความที่แสดงว่า การเห็น” เป็นสิ่งสำคัญ

พระพม่าปฏิเสธการเห็นทั้งหมด โดยมีความเชื่อว่า “เป็นไปไม่ได้”  เมื่อปฏิเสธเครื่องมือสำคัญในการหาความรู้

พระพม่าจึง “งมงาย” อยู่ในความรู้ที่ผิดๆ มาเป็นนับพันปีแล้ว

ก็เลือกที่จะตาบอดเอง ทั้งๆ ที่ตาก็ยังดีอยู่ แล้วจะโทษใคร...



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น